Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

เส้นทางนักออกแบบ : เรียนอะไร? คณะไหน? ถึงจะได้ทำงานออกแบบในฝัน

เส้นทางนักออกแบบ : เรียนอะไร? คณะไหน? ถึงจะได้ทำงานออกแบบในฝัน

อยากทำงานสายออกแบบ แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร? บางคนยังอยู่ในวัยเรียน เตรียมตัวสอบเข้าในคณะที่สอนออกแบบ บางคนอยู่ในวัยทำงาน จะกลับไปสอบเข้าก็ไม่ทันแล้ว ต้องอาศัยใจรักฝึกฝนกันไป

ซันนี่มีคำแนะนำสำหรับคนที่อยากทำงานสายออกแบบมาฝาก โดยในบทความนี้เราจะเริ่มต้นจากนักเรียนที่กำลังจะเรียนต่อในมหาวิทยาลัยกันก่อน เพราะเป็นก้าวแรกสู่เส้นทางอาชีพ และน้องๆกลุ่มนี้มีเวลาเตรียมตัวนานที่สุด

ถ้าใจรักงานออกแบบและอยากเรียนต่อสายนี้ จะต้องเตรียมตัวอย่างไร? และมีคณะไหนเปิดสอนในระดับอุดมศึกษาบ้างนะ?

อยากเรียนออกแบบสายไหน?
อยากเรียนออกแบบสายไหน?

สำหรับน้องๆนักเรียนที่กำลังจะเรียนจบชั้นมัธยมศึกษา นับว่าโชคดีที่สุดถ้ารู้ตัวเร็วตั้งแต่ช่วงนี้ เพราะจะได้เรียนตรงสาย ได้ความรู้เชิงลึกมากที่สุด และเป็นพื้นฐานที่ดีในการประกอบอาชีพในอนาคต

ก่อนอื่นเราควรจะรู้ว่าชอบงานออกแบบสายไหน เช่น ออกแบบตกแต่งภายใน ออกแบบแฟชั่น ออกแบบนิเทศศิลป์ เป็นต้น เพราะงานออกแบบแต่ละสายใช้ความถนัดเฉพาะทางไม่เหมือนกัน

ถ้ายังไม่รู้ว่าตัวเองชอบงานออกแบบแนวไหน ลองไปดูงาน Open House ที่แต่ละมหาวิทยาลัยเปิดเป็นประจำทุกปี หรือเข้าไปดูรายละเอียดวิชาที่เปิดสอนในเว็บไซต์มหาวิทยาลัย

เตรียมตัวอย่างไร?
เตรียมตัวอย่างไร?

เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากสายไหนก็ได้ เพราะคณะวิชาที่เปิดสอนเกือบทั้งหมด มักจะรับนักศึกษาด้วยวิธีการ “สอบตรง” ที่ใช้ความสามารถเฉพาะทาง เช่น วาดเส้น ออกแบบนิเทศศิลป์ ออกแบบแฟชั่นดีไซน์ เป็นต้น หรืออาจจะมีการยื่นพอร์ตโฟลิโอ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละคณะ และอาจไม่สามารถใช้ผลคะแนนแอดมิชชั่นยื่นได้

ซึ่งทักษะการออกแบบจากวิชาศิลปะในโรงเรียน ไม่เพียงพอต่อการสอบเข้ามหาวิทยาลัยในสายการออกแบบ น้องๆ คนไหนอยากมาเส้นทางนี้ อาจเพิ่มการติวทักษะเฉพาะในวิชาวาดเส้น และการออกแบบในสายที่เราต้องการ เช่น

– เรียนเพิ่มตามสถาบันกวดวิชาด้านศิลปะเพื่อการสอบเข้า

– ฝึกฝนด้วยตนเอง ตามหนังสือสอนทักษะการวาดเส้นและการออกแบบ แล้วนำผลงานไปปรึกษากับอาจารย์ภาควิชาศิลปะที่โรงเรียน

– ช่วงใกล้สอบ แต่ละคณะจะเปิด “โครงการรุ่นพี่ติวรุ่นน้อง” เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการสอบเข้า น้องๆ สามารถไปลงเรียนตามคณะได้เลย

ทักษะเฉพาะทางที่ใช้สอบเข้าเรียนต่อในสายออกแบบนี้ ต้องอาศัยเวลาฝึกฝน บางคนอาจใช้เวลาหลายเดือน บางคนอาจใช้เวลาหลายปี ดังนั้น ใครรู้ตัวก่อน ฝึกก่อน ก็มีโอกาสสอบได้คะแนนสูงกว่า

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยศิลปากร

คณะมัณฑนศิลป์
– สาขาวิชาการออกแบบภายใน
– สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์
– สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์
– สาขาวิชาประยุกตศิลปศึกษา
– สาขาวิชาเครื่องเคลือบดินเผา
– สาขาวิชาการออกแบบเครื่องประดับ
– สาขาวิชาออกแบบเครื่องแต่งกาย

คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์
– ภาควิชาจิตรกรรม
– ภาควิชาประติมากรรม
– ภาควิชาภาพพิมพ์
– ภาควิชาศิลปะไทย
– ภาควิชาสื่อผสม
– ภาควิชาทฤษฎีศิลป์

วิทยาลัยนานาชาติ
– หลักสูตรศิลปบัณฑิตสาขาการออกแบบสื่อสารดิจิทัล

มหาวิทยาลัยศิลปากร
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะศิลปกรรมศาสตร์
– ภาควิชานฤมิตศิลป์
– ภาควิชาทัศนศิลป์

คณะครุศาสตร์
– ศิลปศึกษา

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
– การออกแบบนิเทศศิลป์ (หลักสูตรนานาชาติ)

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คณะศิลปกรรมศาสตร์
– สาขาวิชาศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

คณะศิลปกรรมศาสตร์
– หลักสูตรศิลปกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบทัศนศิลป์
วิชาเอกการออกแบบการสื่อสาร
วิชาเอกการออกแบบผลิตภัณฑ์
วิชาเอกการออกแบบแฟชั่น
วิชาเอกศิลปะเครื่องประดับ

– หลักสูตรศิลปกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์
วิชาเอกเซรามิกส์
วิชาเอกศิลปวัฒนธรรม
วิชาเอกศิลปะจินตทัศน์ (จิตรกรรม)

– หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษา

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
– สาขาวิชาการออกแบบสนเทศสามมิติ
– สาขาวิชานิเทศศิลป์
– สาขาวิชาภาพยนต์และวิดีโอ
– สาขาวิชาการถ่ายภาพ
– สาขาวิชาจิตรกรรม
– สาขาวิชาประติมากรรม
– สาขาวิชาภาพพิมพ์

คณะครุศาสตร์ อุตสาหกรรม
– ครุศาสตร์การออกแบบ

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด)

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
– การออกเบบนิเทศศิลป์ (หลักสูตรนานาชาติ)

โครงการร่วมฯ (คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมฯ)
– สาขาวิชามีเดียอาตส์ Media Arts
การออกแบบกราฟิก
แอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต์
การออกแบบภาพยนตร์

มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด)
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

คณะศิลปกรรมศาสตร์
– สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
– สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์
– สาขาวิชาทัศนศิลป์ สาขาวิชาการออกแบบแฟชั่น
– สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาลัยนานาชาติ

– หลักสูตรนานาชาติ สาขาออกแบบนิเทศศิลป์

มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาลัยนานาชาติ - หลักสูตรนานาชาติ สาขาออกแบบนิเทศศิลป์

เมื่อได้คณะที่ชอบ มหาวิทยาลัยที่ใช่แล้ว ก็ต้องดูรายละเอียดว่าคณะนั้นๆ ใช้ความถนัดอะไรในการสอบบ้าง และฝึกฝนตามนั้น แนะนำให้เลือกสอบหลายๆที่ หลายๆคณะ บางคณะก็ใช้วิชาเฉพาะทางเดียวกันหรือคล้ายกัน เพราะทักษะการวาดเส้นและออกแบบ เมื่อฝึกฝนจนชำนาญแล้วก็สามารถประยุกต์ได้หลากหลายสาขา ที่สำคัญคือต้องรู้ตัวให้เร็ว และเตรียมตัวให้ทัน แค่นี้คณะในฝันก็อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม

สำหรับหนุ่มสาววัยทำงานที่กลับไปสอบไม่ทันแล้ว แต่มีใจรักอยากเรียนออกแบบเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในงานปัจจุบัน หรือต่อยอดเส้นทางอาชีพในอนาคต ซันนี่จะมีคำแนะนำมาฝากในบทความต่อไป อย่าลืมติดตามที่ “Sunnysideup Studio Blog”


ขอขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล :
http://artstucafe.com, จะเรียนออกแบบ”ต้องรู้” [ตอน1] คณะออกแบบมีที่ไหนบ้าง(ที่ยอดฮิตในBKK)
manastudio.net, รายชื่อคณะที่เรียนออกแบบและศิลปะ

Leave a comment