Mood & Tone มีความสำคัญอย่างไรต่อการออกแบบแบรนด์
| |

Mood & Tone มีความสำคัญอย่างไรต่อการออกแบบแบรนด์

สิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำธุรกิจคือคุณภาพของสินค้าและบริการ แต่สิ่งแรกที่จะสะท้อนตัวตนของแบรนด์ออกมาสู่สายตาของผู้คนได้ชัดเจนที่สุดก็คือ อัตลักษณ์ของแบรนด์ อัตลักษณ์ของแบรนด์ (Brand CI) คืออะไร? : คือตัวตน ภาพลักษณ์ และความเป็นแบรนด์นั้นๆ หากให้เปรียบเป็นคนแล้วคงไม่ได้หมายถึงเพียงแค่หน้าตา แต่รวมถึงบุคลิก การแต่งกาย ลักษณะนิสัย และองค์ประกอบทุกอย่างที่รวมกันเป็นคนคนนั้น แบรนด์เองก็เช่นกัน กว่าจะออกมาเป็นแบรนด์หนึ่งจึงมีกระบวนการสร้างมากมาย ตั้งแต่รูปแบบของโลโก้ ฟอนต์ สี รวมไปถึง Mood & Tone ที่จะนำมาใช้ เพื่อสื่อให้เห็นว่าตัวตนของแบรนด์นั้นเป็นอย่างไร กลุ่มลูกค้าเป็นใคร และต้องการขายอะไร Mood & Tone  คือการใช้อารมณ์และความรู้สึกเข้ามาช่วยในการออกแบบ “Mood” คือ อารมณ์ของภาพที่แสดงออกมาให้เราเห็น ไม่ว่าจะเป็นความสงบ ความสุข ความเศร้า หรือแม้แต่ความหวาดกลัว ศิลปะบางชิ้นสามารถสื่ออารมณ์ออกมาได้อย่างชัดเจน ผ่านการแสดงสีหน้าของบุคคลในภาพ แต่บางชิ้นอาจต้องตีความจากหลายองค์ประกอบ ไม่ว่าจะเป็นแสง สี หรือวัตถุต่างๆ ด้วยเหตุนี้ การไปชมผลงานศิลปะ จึงทำให้ใครหลายคนใช้เวลามากมายไปกับการจ้องมองผลงานชิ้นนั้นๆ และแม้จะเป็นผลงานชิ้นเดียวกัน แต่กลับถูกตีความแตกต่างกันไปแล้วแต่มุมมองของคนที่พบเห็น   เมื่อ Mood ในผลงานบางชิ้นนั้นสามารถสื่ออารมณ์ออกมาได้มากมายและถูกตีความได้หลายรูปแบบ…

Pantone คืออะไร? ทำไมแบรนด์ต่างๆ ถึงเลือกใช้ในการกำหนด “สีของแบรนด์”
|

Pantone คืออะไร? ทำไมแบรนด์ต่างๆ ถึงเลือกใช้ในการกำหนด “สีของแบรนด์”

ในอดีต “สีคลาดเคลื่อน” เป็นปัญหาน่าปวดหัวของนักออกแบบในทุกอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกราฟิกดีไซเนอร์ ที่มักจะมีปัญหาในการส่งงานให้โรงพิมพ์ พิมพ์ได้สีไม่ตรงกับที่ออกแบบ หรือสีไม่ตรงกันในการพิมพ์แต่ละรอบ แม้ว่าจะสั่งงานจากโรงพิมพ์เดียวกันก็ตาม ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1963 เป็นต้นมา รหัสสีของ Pantone ได้เข้ามามีบทบาทในการกำหนดมาตรฐานสีสำหรับสิ่งพิมพ์ ช่วยแก้ปัญหาให้นักออกแบบ และยังช่วยให้แบรนด์ต่างๆ สามารถกำหนดค่าสีประจำแบรนด์ได้อย่างแม่นยำขึ้นอีกด้วย   Pantone หรือ PMS Pantone Matching System (PMS) หรือที่คุ้นเคยกันในชื่อ “Pantone” คือมาตรฐานสีที่ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในหลากอุตสาหกรรม กำหนดขึ้นโดย Pantone LLC บริษัทผลิตสีอายุกว่า 70 ในสหรัฐอเมริกา ก่อนจะมี Pantone โรงพิมพ์แต่ละแห่งใช้ชาร์ตสีของตนเองในการกำหนดค่าสี ซึ่งทำให้งานที่พิมพ์จากโรงพิมพ์แต่ละแห่งมีสีต่างกันไปตามยี่ห้อหมึกพิมพ์และค่าการผสมสี งานชิ้นเดียวกันที่พิมพ์จากต่างโรงพิมพ์จึงอาจมีสีไม่ตรงกัน การหาค่าสีมาตรฐานเป็นเรื่องยุ่งยากสำหรับกราฟิกดีไซเนอร์ เปรียบเทียบความต่างระหว่างกระบวนการพิมพ์ด้วยระบบ PMS กับการพิมพ์ด้วยระบบ CMYK แบบดั้งเดิม ระบบ CMYK ใช้กระบวนการ “Process Color” ผสมจุดสีจาก 4 สี cyan,…